วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบบทที่5

การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์    โจทย์ ข้อ1-3
ในการยิงจุดโทษครั้งหนึ่ง ซึ่งลูกฟุตบอลอยู่ห่างจากผู้รักษาประตู 80 เมตร นายศรันย์เเตะลูกบอลออกไปด้วยความเร็ว 25 เมตรต่อวินาที ทามุม 53 องศากับแนวระดับในขณะเดียวกันผู้รักษาประตูที่ยืนอยู่ที่ประตูได้วิ่งไถลเข้ามารับบอลและรับบอลได้พอดีในขณะที่ลูกบอลตกถึงพื้น
1.ใช้เวลานานเท่าไรกว่าลูกบอลจะตกกระทบพื้น
ตอบ 

2.ลูกบอลตกห่างจากศรันย์กี่เมตรตอบ 

3.ผู้รักษาประตูออกมารับลูกบอลด้วยความเร่งเท่าไหร่

ตอบ 

 4.น้าหวานขับรถไปบนพื้นราบด้วยอัตราเร็วคงที่ 10 เมตรต่อวินาที ได้โยนลูกบอลลูกหนึ่งขึ้นไปในแนวดิ่งพบว่าลูกบอลตกกลับมาที่มืออีกครั้งเมื่อรถเคลื่อนที่ได้ระยะทาง 50 เมตร จงหาความเร็วที่ใช้โยนในแนวดิ่ง
อบ 

5.ลูกปิงปองกระเด็นทามุมเงย 30 องศา กับแนวระดับจากขอบโต๊ะสูง 1 เมตร ด้วยอัตราเร็ว 4 เมตรต่อวินาที จงหาอัตราเร็วของลูกปิงปองขณะที่อยู่สูงจากพื้น 0.55 เมตร
ตอบ 

เฉลย (1.4s)  2(.60m)  3. (2.5m/s2)  4.(25m/s)  5.(5m/s)

แหล่งที่มาของข้อมูล:http://www.taladtutor.com/wp-content/uploads/2016/04/%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A5%E0%B9%8C2558-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88.pdf



                               การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์


ความเร่ง


                                

                                    พลังงานแสงอาทิตย์

 

 
 

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบบทที่4

ระบบนิวเวศ

1.ข้อใด เป็นระบบนิเวศตามธรรมชาติ ?
ก. ชุมชนเมือง
ข. แหล่งเกษตรกรรม
ค. ป่าไม้
ง. ตู้ปลา
2.ข้อใด เป็นผู้บริโภคพืช ?
ก. นกเป็ดน้ำ
ข. กระต่าย
ค. แมว
ง. เสือ
3.ข้อใด ไม่เกี่ยวข้องกับความหนาแน่นของประชากร ?
ก. การเกิด
ข. การอพยพเข้า
ค. การป่วย
ง. การตาย
4.ข้อใด เป็นปัญหาที่เกิดจากการเพิ่มจำนวนประชากร ?
ก. การขาดแคลนพื้นที่อยู่อาศัย
ข. พื้นที่ทางการเกษตรลดลง
ค. ความต้องการปัจจัยสี่เพิ่มขึ้น
ง. ถูกทุกข้อ
5.ข้อใด เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน ?
ก. นกเอี้ยง กับ ควาย
ข. โพรโทซัว ใน ลำไส้ปลวก
ค. กล้วยไม้ กับ ต้นสัก
ง. สุนัข กับ เห็บ
6.เราเรียก ห่วงโซ่อาหารที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างสลับซับซ้อนว่าอะไร ?
ก. ผู้บริโภคลำดับที่สอง
ข. พีระมิดพลังงาน
ค. สายใยอาหาร
ง. คลอโรฟิลล์
7.การหายใจของพืชและสัตว์ เพื่อให้ได้พลังงานออกมาใช้ จะปล่อยก๊าซอะไรออกมา ?
ก. H2O
ข. CO2
ค. NO3
ง. H2CO3
8.ข้อใด เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไม่หมด ?
ก. ป่าไม้
ข. แร่ธาตุ
ค. แสง
ง. ถ่านหิน
9.ข้อใด เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถสร้างทดแทนขึ้นใหม่ได้ ?
ก. แสง
ข. อากาศ
ค. น้ำมันปิโตรเลียม
ง. ป่าไม้
10.ข้อใด เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป ?
ก. ดิน
ข. น้ำมันปิโตรเลียม
ค. อากาศ
ง. สัตว์ป่า

       เฉลย  1.ก  2.ข  3.ง  4.ง  5.ก  6.ข  7.ข  8.ค  9.ง  10.ข

ข้อสอบบทที่3

การเคลื่อนที่

1. สาเหตุที่ทำให้เครื่องกลมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ คืออะไร
. แรงดึงน้อย                 . แรงเสียดทานมาก  
. แรงกดน้อย                 ง. แรงพยายามน้อย
2.แรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุเรียกว่าอะไร
. แรงดึง                ข. แรงกด        
. สัมประสิทธิ์                 . แรงเสียดทาน
3.เหตุใดยางรถยนต์จึงมีลวดลายและผิวขรุขระ
          . เพิ่มแรงเสียดทาน              ข. ลดแรงเสียดทาน
. ให้ความสวยงาม          ง. สะดวกสบายเวลาเปลี่ยนยาง
4.กรณีใดเป็นการเพิ่มแรงเสียดทาน
. บุชในพัดลม                 . ตลับลูกปืนที่ล้อ
. รองเท้าไม้                   . ยางรถยนต์
5.เมื่อรถวิ่งไปข้างหน้า แรงเสียดทานของถนนจะมีทิศทางใด
          . ทิศทางตรงข้ามกับรถวิ่ง     . ทิศทางเดียวกับรถวิ่ง
. ทิศทางไม่แน่นอน          . พื้นถนนมีแรงเสียดทานทุกทิศทาง
6. เหตุการณ์ใดสนับสนุนข้อความที่ว่า ถ้าไม่มีแรงเสียดทานรถจะแล่นไม่ได้
. รถที่วิ่งขึ้นเขา ต้องเร่งเครื่องมากกว่ารถที่แล่นในที่ราบ
. ขณะรถวิ่งลงจากเขา เมื่อดับเครื่องรถยังวิ่งต่อไปได้
. เมื่อรถวิ่งผ่านถนนที่มีน้ำมันเครื่องหกอยู่เต็ม รถจะหมุนคว้าง
. รถที่แล่นเร็วจะต้องใช้ระยะเบรคไกลกว่ารถที่แล่นช้า
7. ยานพาหนะใดที่มีอัตราการสูญเสียพลังงานขับเฉื่อยมาจากแรงเสียดทานพาหนะขณะเคลื่อนที่มากที่สุด
. รถยนต์        . เรือ
. ยานอวกาศ          . เครื่องบิน
8.วัตถุหนัก 2 กิโลกรัม วางบนพื้นราบ ที่มีค่าแรงเสียดทาน 2 นิวตันเมื่อออกแรงดึงตามแนวราบ
วัตถุเริ่มเคลื่อนที่พอดีจงหาสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทาน (1 กิโลกรัม = 10 นิวดัน)
. 0.1                    . 1
. 10              . 40
9. เมื่อออกแรงดึงท่อนไม้หนัก 1 กิโลกรัม ด้วยแรง 5 นิวตัน ท่อนไม้เริ่มเคลื่อนที่ จงหาสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน
. 0.2            . 0.5
. 2               . 5
10. เครื่องกลมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำมักมีสาเหตุมาจากอะไร
. แรงเสียดทานมากเกินไป         . แรงพยายามน้อยไป
. งานที่ใช้มากกว่างานที่ให้        . ถูกทุกข้อ


เฉลย  1.ข  2.ง  3.ก  4.ง  5.ก  6.ค 7.ค  8.ข  9.ง  10.ก

ข้อสอบบทที่2

เรื่องความเร่ง

  1. การเคลื่อนที่ในข้อใดต่างจากข้ออื่น
ก.  การโยนลูกบาสเกตบอลลงห่วง
ข. การวิ่งทาง ตรงเป็นระยะทาง 100 เมตร
ค.  การหล่นของผลไม้สุกจากต้น
ง.   การปล่อยก้อนหินให้หลุดจากมือลงสู่พื้น
2.ข้อใดเป็นปริมาณเวกเตอร์ทั้งหมด
ก.       แรง  ความเร็ว  น้ำหนัก
ข.       โมเมนต์  ความยาว  ความเร็ว
ค.       น้ำหนัก  มวล  ความหนาแน่น
ง.        แรง  ความยาว  มวล
3.ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.       ความเร่งและแรงลัพธ์ที่มากระทำกับวัตถุมีทิศทางเดียวกัน
ข.       ขนาดของความเร่งจะแปรผกผันกับขนาดของแรงลัพธ์
ค.       ขนาดของความเร่งจะแปรผันตรงกับมวลของวัตถุ
ง.        ความเร่งและความเร็วมีค่าเท่ากัน
4.             ข้อใดเป็นปริมาณเวกเตอร์
ก.      มวล
ข.      อัตราเร็ว
ค.      ระยะทาง
ง.       การกระจัด
1.             5.ข้อใดไม่ใช่หลักการของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
          ก.      ยิงธนู                    
           ข.      โบว์ลิ่ง  
           ค.      ฟุตบอล 
            ง.       บาสเกตบอล

6.             การเคลื่อนที่ในข้อใด  เป็นการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
ก.      ผลไม้หล่นจากต้น
ข.      โยนก้อนหินขึ้นไปตรง ๆ
ค.      ฝนตกลงมายังพื้นโลก
ง.       โยนลูกบาสเกตบอลไปยังห่วง
  
7.กีฬาชนิดใดไม่ใช่หลักการของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
ก.      พุ่งเหลน        ค.   บาสเกตบอล
ข.      ฟุตบอล         ง.   สนุกเกอร์

เฉลย  1.ข  2.ก  3.ก  4.ง  5.ข  6.ง  7.ง


ข้อสอบบทที่1

ข้อสอบบทที่1 เรื่องพลังงานแสงอาทิตย์


1.ในฤดูหนาวเมื่อจับเก้าอี้เหล็กแล้วรู้สึกว่าเย็นเพราะเหตุใด
ก.ความเย็นไหลเข้าสู่มือ
ข.เหล็กมีความเย็น
ค.อุณหภูมิไหลจากมือเข้าสู่เก้าอี้
ง.ความร้อนจากมือถ่ายเทให้เก้าอี้

2.ข้อใดใช้อธิบายการถ่ายเทความร้อน โดยการพาได้ดีที่สุด
ก.ยืนตากแดดแล้วรู้สึกร้อน
ข.ยืนเอามืออังพวยกาแล้วรู้สึกร้อน
ค.ยินเอามือจับหม้อที่กำลังต้มแกงจืดรู้สึกร้อน
ง.ใช้คีมคีบถ่านแล้วร้อนมือ

3.แอลกอฮอล์ที่ใช้ทำเชื้อเพลิงได้มาจากอะไร
ก.การกลั่นน้ำมันพืช
ข.เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
ค.การหมักดองผลไม้
ง.การกลั่นไม้


4.หน่วยของงานคือหน่วยของอะไร
ก.มวล
ข.พลังงาน
ค.ปริมาตร
ง.ความดัน 


5.พลังงานทดแทน หมายถึงอะไร
ก.น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากหิน
ข.พลังงานที่นำมาใช้แทนเชื้อเพลิง
ค.พลังงงานที่มนุษย์สร้างขึ้น
ง.พลังงานที่นำเข้าจากต่างประเทศ

6.ข้อใดเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่ใหญ่ที่สุด
ก.นิวเคลียร์
ข.น้ำ
ค.แสงอาทิตย์
ง.ไฮโดรเจน

7.ข้อใดคือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป
ก.น้ำ
ข.ดิน
ค.อากาศ
ง.แก๊สธรรมชาติ

8.การเชื่อมต่อระบบโซล่าเซล ตัวเก็บประจุไฟฟ้าเรียกว่าอะไร
ก.อินเวอร์เตอร์
ข.สายไฟ
ค.ดวงอาทิตย์
ง.แบตเตอรี่


9.ดวงอาทิตย์มีความสำคัญต่อโลกเพราะ
ก. ทำให้เกิดลม
ข. ทำให้เกิดปิโตรเลียม     
ค. ทำให้พืชและสัตว์เจริญเติบโต
ง. ให้พลังงานความร้อนและแสงสว่าง
10.เซลสุริยะใช้หลักอะไรจึงทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า
 ก. ใช้หลักการระเหยของน้ำ
 ข. ใช้กระจกนูนรวมแสงไว้ที่จุดเดียว
 ค. ใช้วัตถุทาสีดำดูดความร้อนจากดวงอาทิตย์
  ง. ใช้วัตถุกึ่งตัวนำทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า

 เฉลย  1.ง  2.ง  3.ค  4.ก  5.ข  6.ค  7.ง  8.ง  9.ง  10.ง


วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์

โพรเจกไทล์ (projectile) คือ วัตถุที่เคลื่อนที่แบบเสรีโดยมีความเร็วในแนวราบ
การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์(projectile motion) เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยมีแนวการเคลื่อนที่เป็นแนวโค้ง
ตัวอย่าง : การเคลื่อนที่ของลูกธนู กระสุนปืนใหญ่ การเคลื่อนที่ของลูกเทนนิส การเคลื่อนที่ของลูกบอลที่ถูกเตะโด่ง

ลักษณะทั่วไปของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
1. แนวการเคลื่อนที่เป็นวิถีโค้งพาราโบลา
2. การกระจัด มี 2 แนว เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน และเป็นอิสระต่อกัน ได้แก่ การกระจัดในแนวราบ (Sx) และการกระจัดในแนวดิ่ง(Sy)-
      2.1) การกระจัดในแนวราบ เกิดจากการเคลื่อนที่ภายใต้ความเร็วคงที่ ดังนั้นเมื่อคิดในช่วงเวลาที่เท่าๆกัน จะมีการกระจัดเท่ากันเสมอ
      2.2 )การกระจัดในแนวดิ่ง เกิดจากการเคลื่อนที่ภายใต้ความเร่งคงที่ ดังนั้นเมื่อคิดในช่วงเวลาที่เท่าๆกัน จะมีการกระจัดเปลี่ยนไปเสมอ
3. ความเร็ว มี 2 แนว เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน และเป็นอิสระต่อกัน ได้แก่ ความเร็วในแนวราบซึ่งมีค่าคงที่
และความเร็วในแนวดิ่งซึ่งมีค่าเปลี่ยนแปลง
4. ความเร่ง โพรเจกไทล์ขณะอยู่กลางอากาศ (ไม่คิดแรงต้านของอากาศ) แรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุก็คือน้ำหนักของวัตถุเอง

ดังนั้น จากกฎการเคลื่อนที่ข้อ 2 ของนิวตันจะทำให้โพรเจกไทล์จะมีความเร่งคงที่ในแนวดิ่ง เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกเหมือนกับวัตถุที่ตกแบบเสรี

5. ณ จุดสูงสุด ความเร็ว = 0 โปรเจกไทล์จะมีความเร็วเท่ากับความเร็วต้นในแนวแกน x
เมื่อพิจารณาเวลาในการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ จะพบว่า
        1.) เวลาของการเคลื่อนที่ในแนวราบและแนวดิ่งเท่ากัน
        2.) เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ จากจุดเริ่มต้นถึงจุดสูงสุดของแนวการเคลื่อนที่ เท่ากับเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่จากจุดสูงสุดถึงตำแหน่งระดับเดียวกับการเคลื่อนที่

แหล่งที่มา: http://projectile-acsp-r1.blogspot.com/

ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ คือกลุ่มอินทรีย์ (พืช สัตว์และจุลินทรีย์) ร่วมกับองค์ประกอบอชีวนะของสิ่งแวดล้อมของพวกมัน (เช่น อากาศ น้ำและดินอนินทรีย์) ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นระบบถือว่า ส่วนประกอบชีวนะและอชีวนะเชื่อมกันผ่านวัฏจักรสารอาหารและการถ่ายทอดพลังงาน ระบบนิเวศนิยามเป็นเครือข่ายปฏิสัมพันธ์ระหว่างอินทรีย์ด้วยกันและระหว่างอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศมีขนาดเท่าใดก็ได้ แต่ปกติครอบคลุมพื้นที่เฉพาะจำกัดแม้นักวิทยาศาสตร์บางส่วนกล่าวว่า ทั้งโลกก็เป็นระบบนิเวศหนึ่งด้วย
พลังงาน น้ำ ไนโตรเจนและดินอนินทรีย์เป็นอีกส่วนประกอบอชีวนะของระบบนิเวศ พลังงานซึ่งถ่ายทอดผ่านระบบนิเวศได้มาจากดวงอาทิตย์เป็นหลัก โดยทั่วไปเข้าสู่ระบบผ่านการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งกระบวนการนี้ยังจับคาร์บอนจากบรรยากาศด้วย สัตว์มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนของสสารและพลังงานผ่านระบบนิเวศ โดยการกินพืชและสัตว์อื่น นอกจากนี้ สัตว์ยังมีอิทธิพลต่อปริมาณพืชและชีวมวลจุลินทรีย์ที่มีอยู่ ตัวสลายสารอินทรีย์ปลดปล่อยคาร์บอนกลับสู่บรรยากาศและเอื้อการเกิดวัฏจักรสารอาหารโดยการแปลงสารอาหารที่สะสมอยู่ในชีวมวลตายกลับสู่รูปที่พร้อมถูกพืชและจุลินทรีย์อื่นใช้ โดยการย่อยสลายสารอินทรีย์ตาย ในธรรมชาติแล้วมีสาร 60 ชนิด ในจำนวน 96 ชนิด หมุนเวียนผ่านเข้าไปในอินทรีย์
ระบบนิเวศมีทั้งปัจจัยภายนอกและภายในควบคุม ปัจจัยภายนอก เช่น ภูมิอากาศ วัสดุกำเนิด (parent material) ซึ่งสร้างดินและภูมิลักษณ์ ควบคุมโครงสร้างโดยรวมของระบบนิเวศและวิธีที่สิ่งต่าง ๆ เกิดในนั้น แต่ปัจจัยดังกล่าวไม่ได้รับอิทธิพลจากระบบนิเวศ ปัจจัยภายนอกอื่นรวมเวลาและชีวชาติศักยะ (potential biota) ระบบนิเวศเป็นสิ่งพลวัต คือ อยู่ภายใต้การรบกวนเป็นระยะและอยู่ในกระบวนการฟื้นตัวจากการรบกวนในอดีตบางอย่าง ระบบนิเวศในสิ่งแวดล้อมคล้ายกันที่ตั้งอยู่ในส่วนของโลกต่างกันสามารถมีลักษณะต่างกันมากเพราะมีชนิดต่างกัน การนำชนิดต่างถิ่นเข้ามาสามารถทำให้เกิดการเลื่อนอย่างสำคัญในการทำหน้าที่ของระบบนิเวศ ปัจจัยภายในไม่เพียงควบคุมกระบวนการของระบบนิเวศ แต่ยังถูกระบบนิเวศควบคุมและมักอยู่ภายใต้วงวนป้อนกลับ (feedback loop) เช่นกัน ขณะที่ทรัพยากรป้อนเข้าปกติถูกกระบวนการภายนอก เช่น ภูมิอากาศและวัสดุกำเนิด ควบคุม แต่การมีทรัพยากรเหล่านี้ในระบบนิเวศถูกปัจจัยภายใน เช่น การผุสลายตัว การแข่งขันรากหรือการเกิดร่ม ควบคุม ปัจจัยภายในอื่นมีการรบกวน การสืบทอด (succession) และประเภทของชนิดที่มี แม้มนุษย์อยู่ในและก่อให้เกิดผลภายในระบบนิเวศ แต่ผลลัพธ์รวมใหญ่พอมีอิทธิพลต่อปัจจัยภายนอกอย่างภูมิอากาศ
ความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) เช่นเดียวกับการรบกวนและการสืบทอด มีผลต่อการทำหน้าที่ของระบบนิเวศ ระบบนิเวศให้สินค้าและบริหารต่าง ๆ ที่มนุษย์ต้องการ หลักการการจัดการระบบนิเวศเสนอว่า แทนที่จะจัดการชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียว ควรจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ระดับระบบนิเวศด้วย การจำแนกระบบนิเวศเป็นหน่วยเอกพันธุ์ทางระบบนิเวศ (ecologically homogeneous unit) เป็นขั้นตอนสำคัญสู่การจัดการระบบนิเวศอย่างสัมฤทธิ์ผล แต่ไม่มีวิธีทำวิธีใดวิธีหนึ่งที่ตกลงกัน


การจัดการระบบนิเวศ

การจัดการระบบนิเวศ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีในระยยนิเวศมากกว่า 1 ชนิด F. Stuart Chapin ได้นิยามไว้ว่า “การประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางนิเวศวิทยาในการจัดการทรัพยากรเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนของระบบนิเวศในระยะยาวและ การส่งมอบสินค้าและบริการของระบบนิเวศที่สำคัญ” Norman Christensen และ coauthors นิยามว่า “การจัดการเป้าหมายอย่างชัดเจน ดำเนินการตามนโยบาย ระเบียบการ การปฏิบัติและสามารถปรับตัวได้จากการตรวจสอบและกระบวนการที่จำเป็นเพื่อรักษาโครงสร้างของระบบนิเวศและการวิจัยบนพื้นฐานความเข้าใจที่ดีที่สุดของเรามีปฏิสัมพันธ์ทางนิเวศวิทยา” และ Peter Brussard และ colleaguesนิยามว่า “การจัดการพื้นที่ที่มีความหลากหลายแบบนิเวศบริการและชีวภาพ มีเก็บทรัพยากรเพื่อที่มนุษย์ใช้อย่างเหมาะสมและการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน”
แม้ว่าคำจำกัดความของการจัดการระบบนิเวศจะมีมากมาย ได้มีการกำหนดหลักการเพื่อรองรับคำนิยามเหล่านี้[11] ไว้ว่า หลักการพื้นฐานคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาวของการผลิตสินค้าและนิเวศบริการ[“การพัฒนาอย่างยั่งยืน[ เป็น ] สิ่งที่จำเป็นสำหรับการจัดการ ไม่ใช่ของแถม”นอกจากนี้ยังต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนเกี่ยวกับทางโคจรในอนาคตและพฤติกรรมของระบบการจัดการ ข้อกำหนดสำคัญอื่น ๆ รวมถึงความเข้าใจนิเวศวิทยาเสียงของระบบ,รวมถึงการเชื่อมโยง,การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและในบริบทที่เป็นระบบแบบฝังตัว หลักการที่สำคัญอื่น ๆ รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของมนุษย์เป็นส่วนประกอบของระบบนิเวศและการจัดการที่เหมาะสม ในขณะที่การจัดการระบบนิเวศที่ สามารถนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนเพื่อการอนุรักษ์ป่าก็ยังสามารถนำมาใช้ใน การจัดการระบบนิเวศ เช่น ระบบนิเวศเกษตร

แหล่งที่มา:
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8